PSinspector PSinspector PSinspector PSinspector PSinspector PSinspector PSinspector PSinspector PSinspector PSinspector PSinspector PSinspector PSinspector PSinspector

สรุปผลการเสวนาเรื่อง ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับกฏกระทรวงในการตรวจสอบอาคาร

สรุปผลการเสวนาเรื่อง ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับกฎกระทรวงในการตรวจสอบอาคาร
วันอังคารที่ 10 พฤศจิกายน 2552 เวลา 13.00-17.00 น. ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 4 อาคาร วสท. ซอยรามคำแหง 39 เนื่องจากการตรวจสอบอาคารตามกฎกระทรวงมีผลบังคับใช้มาเกือบ 2 ปีแล้ว และพบว่ามี วิศวกรและผู้เกี่ยวข้องให้ความเห็นถึงปัญหาในทางปฏิบัติไว้หลายประการ เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยน
ประสบการณ์และความคิดเห็น และนำไปสู่การจัดทำข้อเสนอแนะในการปรับปรุงกฎกระทรวงให้เป็น
ประโยชน์ต่อสาธารณชนอย่างสมบูรณ์ คณะกรรมการวิชาการสาขาวิศวกรรมโยธา สมาคมวิศวกรรม
สถานแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ (วสท.) จึงได้จัดให้มีการเสวนาเกี่ยวกับกฎกระทรวง ดังกล่าวในหัวข้อเรื่อง “ข้อคิดเห็นเกี่ยวกับกฎกระทรวงในการตรวจสอบอาคาร” ขึ้น ในวันอังคารที่ 10 พฤศจิกายน 2552 เวลา 13.00-17.00 น. ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 4 อาคาร วสท. ซอยรามคำแหง 39 โดยมี ผู้เข้าร่วมการเสวนาทั้งสิ้น 59 คน ตามรายชื่อที่แนบ รายนามวิทยากรและผู้ดำเนินรายการ
วิทยากรประกอบไปด้วย
  1. นายประสงค์ ธาราไชย นายกสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ฯ
  2. รศ.ดร.วิชา จิวาลัย กรรมการสภาวิศวกร
  3. นายอนวัช บูรพาชน วิศวกรโยธา 8 สำนักควบคุมอาคาร กรมโยธาธิการและผังเมือง ผู้แทนนายสุรชัย พรภัทรกุล วิศวกรใหญ่ กรมโยธาธิการและผังเมือง
  4. นายพินิต เลิศอุดมธนา วิศวกรโยธา 8 กองควบคุมอาคาร สำนักการโยธา กรุงเทพมหานคร ผู้แทน นายทรงศักดิ์ นุชประยูร ผู้อำนวยการกองควบคุมอาคาร
  5. ดร.วิสิทธิ์ อุติศยพงศา บริษัท วิสิทธิ์ เอ็นจิเนียริ่ง คอนซัลแตนท์ จำกัด
  6. ผศ.ชลชัย ธรรมวิวัฒนุกูร นายกสมาคมผู้ตรวจสอบและบริหารความปลอดภัยอาคาร

ผู้ดำเนินการรายการ
1. รศ.ดร.วัชรินทร์ กาสลัก ประธานคณะกรรมการสาขาวิศวกรรมโยธา วสท.
2. รศ.เอนก ศิริพานิชกร กรรมการสาขาวิศวกรรมโยธา วสท. การนำเสนอของวิทยากร
คุณอนวัช ประเทศไทยมีกฎหมายควบคุมอาคารมานาน 75 ปีแล้ว แต่ยังไม่มีมาตรการด้านความ ปลอดภัยอาคาร ตลอดจนการบำรุงรักษา จึงมีความจำเป็นต้องมีการตรวจสอบ ประกอบกับเกิดเหตุอาคาร
วิบัติขึ้นหลายครั้ง กระทรวงมหาดไทยโดยกรมโยธาธิการจึงได้ยกร่างแก้ไขพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร จนได้มีการออกเป็น พรบ. ควบคุมอาคาร (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2543 โดยมาตรา 32 ทวิ ได้กำหนดให้เจ้าของ อาคารบางชนิดต้องจัดให้มีการตรวจสอบและบำรุงรักษาโครงสร้างและระบบต่าง ๆ ของอาคาร โดย
กำหนดให้มีผู้ตรวจสอบอาคารซึ่งต้องเป็นวิศวกรหรือสถาปนิกที่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ โดยมีสาระ
เป็นแบบวิธีการตรวจสอบ (auditing) ด้วยสายตา และจัดทำรายงานยื่นให้กับเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น และแก้ไข ให้เพิ่มบทลงโทษกับเจ้าของอาคารให้สูงขึ้น ในกรณีที่ไม่ดำเนินการตรวจสอบและแก้ไขอาคารตาม
กฎหมายต่อมาได้มีการออกกฎกระทรวงกำหนดประเภทอาคารที่ต้องจัดให้มีผู้ตรวจสอบ พ.ศ. 2548 และ กำหนดหลักเกณฑ์และรับขึ้นทะเบียนผู้ตรวจสอบอาคาร โดยได้ประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษาไปเมื่อ
วันที่ 25 ตุลาคม 2548 และ วันที่ 29 ธันวาคม 2548 ตามลำดับ ทั้งนี้มีอาคารจำนวน 9 ประเภทที่ต้องทำการ ตรวจสอบ และพบว่ามีอาคารที่อยู่ในข่ายต้องตรวจสอบจำนวนประมาณ 20,000 แห่ง แต่เป็นที่น่าสังเกต ว่าอาคารชุมนุมคนตามที่ได้รับแจ้งจากท้องถิ่นมีเพียง 14 แห่งเท่านั้นซึ่งน่าจะเกิดจากความเข้าใจที่ คลาดเคลื่อนของท้องถิ่นต่าง ๆ สำหรับผู้ตรวจสอบอาคารมีขึ้นทะเบียนไว้จำนวน 2000 คนเศษ และใน จำนวนนี้มีผู้ตรวจสอบประเภทนิติบุคคลจำนวน 200 แห่ง ปัจจุบันพบปัญหาการบังคับใช้กฎหมาย เช่น บทลงโทษเจ้าของอาคารที่ไม่ชัดเจน ทำให้เจ้าของ
อาคารไม่เกรงกลัว ด้านเจ้าของอาคารก็มีค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบอาคารเพิ่มเติมขึ้น และการดัดแปลง
อาคารใหม่ตามกฎกระทรวงใหม่ ๆ เช่นกฎกระทรวง พ.ศ. 2550 จำเป็นต้องใส่อุปกรณ์อาคารจำนวนมาก สำหรับอาคารเท่าที่มีผลตามกฎหมายแล้วไม่นับรวมอาคารจำนวนหนึ่งที่อยู่ในบทเฉพาะกาล ได้รับการ
ตรวจสอบแล้วประมาณร้อยละ 90 แต่มีการออกใบ ร.1 น้อย สำหรับป้ายได้รับการตรวจแล้วประมาณร้อย ละ 60 ทั้งนี้ หากเจ้าของอาคารไม่ตรวจ เจ้าหน้าที่ของรัฐสามารถแจ้งความดำเนินคดีอาญามีโทษปรับถึง หกหมื่นบาท และปรับเพิ่มระหว่างที่ยังไม่ดำเนินการอีกวันละหนึ่งหมื่นบาท กรมโยธาธิการฯ มีแผนที่จะ
ทำการสุ่มตรวจอาคารเพื่อสอบทานคุณภาพของการตรวจอาคารของผู้ตรวจด้วย
ดร.วิสิทธิ์ ได้ตั้งคำถามไว้ก่อนการบรรยายว่าการตรวจสอบอาคาร 1. เป็นงานวิศวกรรมควบคุมหรือไม่ 2. เป็นการลิดรอนสิทธิหรือไม่ 3. เป็นการดำเนินการที่มีวัตถุประสงค์ขัดแย้งผลประโยชน์กันหรือไม่ ระหว่างเจ้าของอาคารกับผู้ตรวจสอบ 4. ปฏิบัติได้หรือไม่ ทั้งนี้ยังได้ตั้งข้อสังเกตว่าในมาตราที่ 16 ของกฎกระทรวงได้ตั้งประเด็นให้การจัดทำรายงานต้องระบุถึง ความปลอดภัยของอาคาร ซึ่งมีความเห็นว่าประเด็นชี้ความปลอดภัยนี้ กระทำได้ยากด้วยเหตุที่ว่าความ
มั่นคงแข็งแรงของอาคารเป็นงานวิศวกรรมควบคุม ยิ่งไปกว่านั้นงานระบบอาคารซึ่งเป็นสาระสำคัญของ
กฎหมายนี้มีความซับซ้อนและเป็นงานวิศวกรรมควบคุมเช่นกัน ดังนั้น การตรวจสอบอาคารด้วยตาเปล่า เป็นเรื่องยากมากในการสรุปความปลอดภัยของอาคาร อีกทั้งการตรวจสอบอาคารด้านโครงสร้าง และการ
ตรวจวิศวกรรมระบบโดยวิศวกรทุกสาขาและสถาปนิกที่เพียงแค่สอบผ่านจึงไม่น่าเป็นไปได้
ในร่างกฎกระทรวงเดิมมีระบบการตรวจสอบอาคารจำนวน 3 ชุด ได้แก่ การตรวจสอบประจำปี ซึ่งให้ดำเนินการได้โดยเจ้าหน้าอาคาร ชุดที่ 2 ให้ตรวจสอบโดยวิศวกรชำนาญการ (สามัญ) และชุดที่ 3 รับรองโดยวุฒิวิศวกร ซึ่งแตกต่างอย่างมากกับกฎกระทรวงในปัจจุบัน
การที่ภาคีวิศวกรและสถาปนิกในทุกสาขาสามารถตรวจสอบอาคารได้ เพียงแต่สอบได้
ใบอนุญาต ขณะที่วุฒิวิศวกรโยธาไม่สามารถตรวจอาคารได้จะเป็นการลิดรอนสิทธ์หรือไม่ แต่เมื่อพบว่า
อาคารมีปัญหากลับต้องให้วุฒิวิศวกรไปตรวจสอบ
มีการขัดแย้งผลประโยชน์อย่างชัดเจน เนื่องจากเจ้าของอาคารเป็นผู้จ่ายค่าจ้างให้ผู้ตรวจทำให้
สามารถควบคุมผู้ตรวจได้
นอกจากนี้ในการปฏิบัติการตรวจสอบอาคารทำได้หรือไม่ เช่น การตรวจสอบโครงสร้างของ
อาคารที่ตกแต่งไว้จะไม่เห็นสภาพจริง และเจ้าหน้าที่ไม่กล้าลงนามรับรองผล
ดร.วิสิทธิ์ ได้เสนอแนวทางการปรับปรุง โดยกำหนดให้ผู้ตรวจสอบเป็นตัวแทนของเจ้าหน้าที่รัฐ โดยให้เจ้าของอาคารจ่ายค่าบริการการตรวจสอบกับภาครัฐ แล้วภาครัฐจึงนำไปว่าจ้างบริษัทผู้ตรวจสอบ
ทำการตรวจสอบและทำรายงานเสนอภาครัฐ ควรตรวจสอบเฉพาะระบบท่อ ระบบดับเพลิง ไม่ควรตรวจ
โครงสร้างอาคารที่เป็นหน้าที่ของวุฒิวิศวกร
คุณพินิต ได้รายงานว่ามีอาคารจำนวนทั้งสิ้นประมาณ 9300 หลังที่อยู่ในข่ายที่ต้องตรวจสอบอาคาร โดย อาคารที่ต้องทำการตรวจสอบในขณะนี้มีประมาณ 5000 หลัง และอยู่ในระยะผ่อนผันจำนวน 4000 หลัง มี รายงานการตรวจสอบอาคารแล้วประมาณ 3900 เรื่อง และได้ใบอนุญาต (ร.1) จำนวนประมาณ 1100 หลัง หรือคิดเป็นร้อยละ 26 และยังไม่ได้ใบอนุญาตอีกร้อยละ 74 ปัญหาหนึ่งคือของการไม่ออก ร.1 คือการไม่ ยอมแก้ไขตามคำแนะนำ
ในฐานะของเจ้าหน้าท้องถิ่น พบว่ามีข้อกฎหมายและวิธีการปฏิบัติซึ่งไม่ตรงกันในทุกฝ่าย ทั้งยัง
ขาดรายละเอียดที่ผู้ตรวจสอบแต่ละรายดำเนินการไม่เหมือนกัน เช่น แบบแปลนที่ต้องส่ง ควรจะประกอบ
อะไรบ้าง จึงพบว่ามีความเหลื่อมล้ำกันอยู่ การแก้ไขไม่มีกำหนดระยะเวลาแน่นอน ทำให้การปฏิบัติงาน
ทำได้ยาก จะออกคำสั่งที่ชัดเจนมากไม่ได้เพราะเป็นคำสั่งทางปกครองอาจโดนฟ้องได้ ควรต้องมี
มาตรฐานในการปฏิบัติงานจากผู้มีอำนาจในการบังคับใช้กฎหมาย และเสนอว่าควรกำหนดมาตรฐานการ
อบรมผู้ตรวจสอบให้เหมือนกัน เพื่อให้ได้ผลการตรวจสอบที่ดีเป็นไปตามเจตนารมณ์ของกฎหมาย
ผศ.ชลชัย ได้นำเสนอภาพรวมของการตรวจสอบอาคารในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา พบว่ามีผลการประเมินดีมาก ในส่วนของวัตถุประสงค์ของกฎหมาย โดยได้รับความร่วมมือจากเจ้าของอาคารพอใช้ แต่ผลการบังคับใช้
กฎหมาย และการดำเนินการธุรกิจการตรวจสอบอาคารมีผลการประเมินไม่ดี
ปัญหาเร่งด่วนในปัจจุบัน คือความไม่คืบหน้าของการอนุญาตจากเจ้าพนักงานท้องถิ่น หลังจาก
ได้รับรายงานแล้ว ซึ่งทำให้อาคารที่ตรวจสอบไปแล้วแต่ยังไม่ได้ใบอนุญาต (ร.1) ไม่มีความชัดเจนว่า ต้องตรวจสอบอาคารประจำปีหรือไม่ และจะนับเวลาตามกฎกระทรวงอย่างไร การไม่มีบทลงโทษกับ เจ้าของอาคารที่ไม่ได้ดำเนินการตรวจสอบ และพบว่ามีอาคารบางประเภทที่มีลักษณะการใช้งานที่
แตกต่างไปจากที่ขออนุญาตไว้ แต่ไม่จำเป็นต้องตรวจสอบอาคารตามกฎหมาย
ทั้งนี้ปัญหาที่เกิดขึ้นจำเป็นต้องมีการแก้ไข โดยยกตัวอย่างเช่นปัญหาของความล่าช้าในการออก
ใบ ร.1 ซึ่งเจ้าหน้าท้องถิ่นจะอ้างว่าขาดแคลนกำลังคน ซึ่งควรแก้ไขให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบเฉพาะบทสรุป ผู้บริหาร (executive summary) พร้อมกับเสนอให้ผู้ลงนามในใบอนุญาตควรเป็นทั้งเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นลง นามร่วมกับผู้ตรวจสอบอาคาร เพื่อให้ความรู้สึกเสี่ยงที่จะถูกฟ้องร้องและรับผิดชอบแต่เพียงฝ่ายเดียวของ
เจ้าหน้าท้องถิ่นลดลง และควรแก้ไขข้อความในใบ ร.1 ให้เป็นการลงนามว่า ผ่าน/ไม่ผ่าน แทนการระบุ สภาพปลอดภัย ซึ่งไม่สามารถรับรองได้โดยวิธีการตรวจสอบตามที่ระบุไว้ในกฎหมาย
นอกจากนั้นยังพบปัญหาอื่น ๆ อาทิ การปลอมแปลงใบ ร.1 การลงนามในรายงานของผู้ ตรวจสอบอาคารทั้ง ๆ ที่ไม่ได้เป็นผู้ดำเนินการเอง และคุณภาพของผู้ตรวจสอบอาคาร ซึ่งรับงานตรวจ
อาคารในปริมาณที่มากเกินกว่าที่จะดำเนินการ ควรต้องมีการจำกัดจำนวนอาคารที่ผู้ตรวจสอบอาคาร
สามารถดำเนินการได้ และควรให้ผู้มีอำนาจทำการสุ่มตรวจในอาคารที่ส่งรายงานแล้ว ในท้ายที่สุดควร
ดำเนินการอบรมให้ความรู้กับเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นเพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้ชัดเจน โดยเฉพาะเรื่อง
ระยะเวลาในการให้ใบอนุญาตและการทำงานที่เป็นแนวทางปฏิบัติเดียวกัน
คุณประสงค์ ได้นำเสนอในฐานะของสมาคมวิชาชีพที่ต้องสนับสนุนการทำงานที่เกี่ยวข้องกับความ
ปลอดภัยของอาคาร ซึ่งจำเป็นต้องให้วิศวกรและผู้เกี่ยวข้องได้เข้าใจถึงหลักความปลอดภัยของงาน
วิศวกรรม ที่ประกอบไปด้วย full safe ที่หมายความว่างานวิศวกรรมต้องมีความปลอดภัยเต็มเปี่ยม fail
safe ซึ่งหมายความว่าความปลอดภัยของงานวิศวกรรมต้องพิจารณาถึงการวิบัติก่อนของโครงสร้างเพื่อ เป็นสัญญาณเตือนก่อนการพังทลายลง และสุดท้ายคือ full proof ซึ่งหมายความว่างานวิศวกรรมต้องได้รับ การพิสูจน์อย่างครบถ้วนก่อนจะดำเนินการใด ๆ
นอกจากนั้น ในฐานะของนายกสมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ฯ ยินดีที่จะจัดให้มีการ
อบรมให้ความรู้แก่สมาชิกเพื่อทำให้งานการตรวจสอบอาคารเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
ดร.วิชา ได้กล่าวถึงปัญหาของงานตรวจสอบอาคารว่ามีสาเหตุจากมาตรา 32 ทวิ ที่กำหนดให้เจ้าของ อาคารมีหน้าที่ตรวจบำรุงรักษาอาคารและอุปกรณ์ประกอบอาคาร ซึ่งเท่ากับเป็นการผลักภาระให้เอกชน
เจ้าของอาคาร และทำให้รูปแบบของการตรวจสอบอาคารตามร่างกฎกระทรวงเดิมผิดไปจากความถูกต้อง
ที่ควรจะเป็น และถือเป็นการขาดความเอาใจใส่ไม่สนับสนุนบทบาทของเอกชนในภารกิจนี้
ทั้งนี้ในตอนท้ายได้เสนอให้มีการแก้ไขกฎกระทรวงและโครงสร้างการตรวจสอบ โดยทบทวน
ให้เป็นหน้าที่ของท้องถิ่นที่จะจัดทีมงานในการตรวจสอบอาคารที่อยู่ในความรับผิดชอบ โดยใช้ค่าใช้จ่าย
ที่อาจเรียกเก็บจากภาษีโรงเรือน หรือเปลี่ยนทัศนคติจากการบังคับให้เจ้าของอาคารมีหน้าที่ในการ
ตรวจสอบอาคาร แต่ควรดำเนินการในลักษณะสนับสนุน เช่นการนำค่าใช้จ่ายในการตรวจสอบอาคารไป
เป็นค่าใช้จ่ายที่รัฐส่งเสริมให้หักภาษีได้ในอัตราที่สูงขึ้น นอกจากนั้นได้ให้ข้อสังเกตว่าการกำหนด
คุณสมบัติของผู้ตรวจสอบอาคาร ที่ต้องเป็นผู้มีใบอนุญาต ที่อาจนำไปสู่ความขัดแย้งกับวิชาชีพควบคุม หรือไม่ และสุดท้ายควรมีการปรับปรุงและกำหนดให้ชัดเจนในประเด็นข้อเสนอแนะของผู้ตรวจสอบ
เพิ่มเติม การดำเนินการตรวจสอบจำเป็นต้องกระทำทุกปีหรือไม่ และราคาค่าตรวจสอบอาคารไม่มี
มาตรฐาน เป็นต้น
ข้อคิดเห็นและเสนอแนะจากผู้เข้าฟังการเสวนา
ในการเสวนาครั้งนี้มีผู้เสนอแนวทางการแก้ปัญหาไว้หลายประเด็น พอสรุปได้ดังต่อไปนี้

  1. ควรเปลี่ยนชื่อกฎกระทรวงเพื่อมิให้เป็นปัญหาด้านความขัดแย้งในประเด็นวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม
  2. การสอบควรให้เป็นระบบมากขึ้น
  3. อาคารที่มีปัญหามาก เช่นมีการเปลี่ยนแปลงการใช้ เปลี่ยนแปลงเจ้าของอาคาร การตรวจสอบ ตามที่ระบุในกฎกระทรวงอาจดำเนินการไม่ได้ ควรให้การตรวจกระทำโดยผู้เชี่ยวชาญแต่ละระบบ
  4. ควรสนับสนุนเรื่องของภาษีสำหรับเจ้าของอาคาร ซึ่งจะเป็นการสนับสนุนให้มีการ ตรวจสอบอาคารเพื่อความปลอดภัยของประชาชน มากกว่าการบังคับเช่นปัจจุบัน
  5. ควรลดความรับผิดชอบในการรับรองความปลอดภัยของอาคารจากเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นซึ่ง พบว่ามีความกังวลในการปฏิบัติงาน
  6. กรมโยธาธิการ ฯ ควรกำหนดการประกันไว้ไม่ให้เกินความรับผิดชอบในใบอนุญาตที่ได้รับ
  7. อาคารราชการเป็นอาคารที่มีความเสี่ยงสูงสุด ควรต้องหาวิธีการดำเนินการเพื่อความ ปลอดภัยของผู้ใช้ ทั้งนี้ ผู้แทนจากกรมโยธาธิการและผังเมือง ให้ข้อมูลว่าจากการตรวจของ
    กรมฯ เอง พบว่าอาคารราชการทุกแห่งที่ไปตรวจ ปรากฎผลว่าไม่ผ่าน
  8. สมาคมวิศวกรรมสถานแห่งประเทศไทย ฯ สมาคมสถาปนิกสยาม ควรร่วมกันผลักดันให้มี การแก้ไขกฎกระทรวงฉบับนี้ ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
  9. ควรกำหนดจรรยาบรรณของผู้ตรวจสอบอาคารด้วย
  10. การตรวจสอบอาคาร ควรปฏิบัติในเชิงส่งเสริมมากกว่าการบังคับ
  11. หากมีการกำหนดให้ท้องถิ่นทำการว่าจ้างผู้ตรวจสอบเอง จำเป็นต้องมีการแก้ไขระเบียบพัสดุ
  12. เสนอให้ “ ผู้ดูแลอาคาร” ต้องได้รับใบอนุญาต โดยไม่จำกัดว่าต้องเป็นวิศวกร เพราะผู้ดูแล อาคารมีหน้าที่ในการดูแลอาคารจึงมีความสำคัญมาก
  13. ให้มีแผนการปรับปรุงอาคารภายใน 5 ปี ยกเว้นเรื่องเร่งด่วนให้ดำเนินการให้เสร็จภายใน 30 วัน
  14. ให้มีคณะกรรมการร่วม วสท./กรมโยธาธิการ/ อาสา เพื่อทำคำวินิจฉัยในกรณีที่เป็นปัญหาใน ข้อเสนอแนะปรับปรุงอาคารที่มีข้อโต้แย้ง โดยคณะกรรมการดังกล่าวให้ทำหน้าที่เป็น
    Monitoring Committee ติดตามการปฏิบัติควบคุมกฎหมายให้มีประสิทธิภาพ
  15. มาตรการส่งเสริมด้านภาษี มีตัวอย่างเช่น เจ้าของอาคารสามารถลดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการ บำรุงรักษาดูแลอาคาร อันได้แก่ภาษีโรงเรือนสำหรับอาคารที่เปิดใช้งานและเคยชำระภาษี
    เกิน 7 ปีขึ้นไป เพื่อช่วยให้เจ้าของอาคารได้บรรเทาค่าใช้จ่ายในการซ่อมบำรุงอาคารโดยต้อง แสดงหลักฐานการรับรองตรวจสอบความปลอดภัยแล้ว
  16. ควรพิจารณาอาคารเก่า ซึ่งถูกกฎหมายแต่ไม่ปลอดภัย เช่น อาคารที่ไม่มีระบบดับเพลิง เป็นต้น สรุปผลการเสวนาโดย
    รศ.ดร.วัชรินทร์ กาสลัก รศ.เอนก ศิริพานิชกร ผศ.ดร.พงศกร พรรณรัตนศิลป์ (30 พฤศจิกายน 2552)